รู้ก่อนลาออก 7 สิ่งสำคัญที่พนักงานต้องเข้าใจเกี่ยวกับการลาออก
การลาออกจากงานเป็นการตัดสินใจที่สำคัญและมีผลทางกฎหมาย การเข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ของพนักงานและนายจ้างจะช่วยให้การลาออกเป็นไปตามกฏหมายข้อบังคับ วันนี้น้องบีพลัสมี 7 ประเด็นสำคัญที่พนักงานควรรู้ก่อนการยื่นลาออก มาแชร์เป็นข้อมูลให้ทุกท่านได้เข้ามาอ่าน
ความหมายของการลาออก
การลาออกเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างโดยพนักงาน ซึ่งอาจแสดงด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อการลาออกได้รับการรับทราบจากนายจ้างแล้ว สัญญาจ้างก็สิ้นสุดลง (อ้างอิง: คำพิพากษาฎีกาที่ 6048-6051/2546)
การยกเลิกการลาออก
เมื่อพนักงานแสดงเจตนาลาออกแล้ว โดยทั่วไปจะไม่สามารถยกเลิกได้ เว้นแต่นายจ้างจะยินยอม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 การลาออกถือเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว เมื่อแสดงเจตนานั้นแล้วและนายจ้างรับทราบ พนักงานจะถอนการลาออกได้ก็ต่อเมื่อนายจ้างยินยอม (อ้างอิง: คำพิพากษาฎีกาที่ 1900/2542)
สถานะการเป็นพนักงานก่อนการลาออกมีผลบังคับใช้
ก่อนวันที่การลาออกมีผลบังคับใช้ พนักงานยังคงมีสถานะเป็นพนักงานอยู่ หากพนักงานฝ่าฝืนระเบียบของบริษัท นายจ้างมีสิทธิ์ลงโทษทางวินัยหรือเลิกจ้างได้ (อ้างอิง: คำพิพากษาฎีกาที่ 1919/2546)
การให้พนักงานออกจากงานก่อนกำหนดโดยนายจ้าง
หากนายจ้างยอมให้พนักงานออกจากงานก่อนวันลาออกที่กำหนดไว้ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยเนื่องจากเป็นการลาออกโดยพนักงานเอง โดยพนักงานอาจไม่ได้รับค่าจ้างจนถึงวันที่ลาออกตามที่ระบุไว้ (อ้างอิง: คำพิพากษาฎีกาที่ 10161/2551)
ส่วนนี้ น้องบีพลัส แนะนำ โปรแกรมลาออนไลน์ ยังมีฟังก์ชันช่วยจัดการคำร้องขอลาและขั้นตอนการลาออกอย่างมีระบบ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่ต้องการระบบ HR ที่มีความโปร่งใสและเข้าถึงได้ง่าย ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สนับสนุนและเป็นมิตรต่อพนักงาน
การขอให้พนักงานลงชื่อในใบลาออกล่วงหน้า
บางครั้งนายจ้างอาจให้พนักงานลงชื่อในใบลาออกล่วงหน้า การทำเช่นนี้โดยมีจุดประสงค์เพื่อปฏิเสธสิทธิการชดเชยของพนักงานถือเป็นโมฆะและไม่สามารถบังคับใช้ได้ตามกฎหมายเนื่องจากขัดกับระเบียบความสงบเรียบร้อย
การลาออกไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติ
พนักงานไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้างในการลาออก แต่หากลาออกโดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบของบริษัท นายจ้างสามารถฟ้องร้องค่าเสียหายได้ หากสามารถพิสูจน์ต่อศาลได้ว่าการลาออกดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายจริง (อ้างอิง: คำพิพากษาฎีกาที่ 10614/2558)
สิทธิในการรับเงินชดเชยเมื่อลาออก
โดยปกติพนักงานที่ลาออกจะไม่ได้รับเงินชดเชย เว้นแต่จะมีการระบุในสัญญาจ้าง หรือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุผลอันควรจากนายจ้าง
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการลาออกและนโยบายที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้การดำเนินการเป็นไปอย่างสะดวกและลดข้อขัดแย้งกับนายจ้าง และลูกจ้าง
สุดท้ายนี้ น้องบีพลัส ขอนำเสนอ โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ ที่ไม่เพียงแต่งานเดือน ยังมี โปรแกรมลาออนไลน์ คำนวณเวลาเข้าออกอัตโนมัติ และอื่นๆอีกมากมาย รวมไปถึงเรื่องของการ ลาออก พนักงานก็สามารถยื่นลาออกเข้ามาในระบบ bplus ได้เลยเช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั่นก่อนลาออก ควรคำนึงถึงคำแนะนำและกฏหมาย ที่ว่าด้วยเรื่องของการคุ้มครองทั้งนายจ้างและลูกจ้างด้วย
ที่มา : คลินิกกฎหมายแรงงาน