10 พฤติกรรมกลั่นแกล้งในที่ทำงานที่เสี่ยงต่อคดีอาญา

ในที่ทำงาน เราทุกคนต้องการบรรยากาศที่ดี มีความเคารพซึ่งกันและกัน แต่ในบางครั้ง พฤติกรรมของหัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงาน อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจและประสิทธิภาพในการทำงานของผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งบางพฤติกรรมที่ดูเหมือนไม่ร้ายแรง แต่อาจเข้าข่าย "การรังแก ข่มเหง คุกคาม" และสามารถเอาผิดตามกฎหมายแรงงานมาตรา 397 ได้

มาตรา 397 คืออะไร ?

มาตรา 397 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ระบุว่า การรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย หรือเดือดร้อนรำคาญ ถือเป็นความผิดทางอาญา โดยมีบทลงโทษ ดังนี้

  • ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
  • หากกระทำในที่สาธารณะ หรือล่วงเกินทางเพศ อาจต้อง จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • หากผู้กระทำเป็นผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือมีอำนาจเหนือผู้ถูกกระทำ อาจต้อง จำคุกไม่เกิน 1 เดือน และปรับไม่เกิน 10,000 บาท

10 พฤติกรรมรังแกในที่ทำงาน ที่เสี่ยงผิดมาตรา 397

1. มอบหมายงานที่เกินขอบเขต หรือเป็นไปไม่ได้

การสั่งงานที่อยู่นอกขอบเขตรับผิดชอบ (Job Description) โดยมีเจตนากลั่นแกล้ง ทำให้พนักงานต้องเผชิญกับภาระงานที่เกินความสามารถ และมีโอกาสทำผิดพลาดสูง ถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

2. กดดันการทำงานมากเกินไป

การใช้วิธีสร้างแรงกดดัน เช่น ตั้งเป้าหมายที่เกินจริง ติดตามงานแบบไม่ให้พัก หรือกดดันจนพนักงานเกิดภาวะเครียด อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของพนักงาน และเข้าข่ายการรังแก

3. ดุด่าว่ากล่าวรุนแรง หรือเมินเฉยต่อผลงาน

การตำหนิพนักงานต่อหน้าคนอื่น หรือทำให้พนักงานรู้สึกไม่มีคุณค่า โดยไม่ให้โอกาสปรับปรุง อาจส่งผลเสียต่อขวัญกำลังใจในการทำงาน

4. ละเมิดความเป็นส่วนตัว

การสอบถามเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงาน เช่น รายได้ สถานะครอบครัว หรือสุขภาพ อาจเข้าข่ายการละเมิดความเป็นส่วนตัวและสร้างความไม่สบายใจให้กับพนักงาน

5. มอบหมายงานที่ไร้ค่าเพื่อลงโทษ

การให้พนักงานทำงานที่ไม่จำเป็น หรือไม่มีคุณค่า เช่น สั่งให้พิมพ์เอกสารที่ไม่ได้ใช้งาน หรือมอบหมายงานที่ไม่มีผลต่อองค์กร เพียงเพื่อกลั่นแกล้ง เป็นการกระทำที่ไม่ยุติธรรม

6. ข่มขู่เรื่องลดเงินเดือน หรือตัดผลประโยชน์

หากใช้คำข่มขู่ เช่น "ถ้าไม่ทำงานนี้ จะลดเงินเดือน" หรือ "ถ้าไม่โอที จะไม่ได้โบนัส" โดยไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน ถือเป็นการคุกคามพนักงาน

7. บังคับให้เข้าร่วมกิจกรรมนอกเวลางาน

การบังคับให้พนักงานไปเที่ยว ดื่มเหล้า หรือเข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการนอกเวลางานโดยไม่เต็มใจ ถือเป็นการกดดันและละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

8. นำเรื่องผิดพลาดของพนักงานไปพูดลับหลัง

การนำความผิดพลาดของพนักงานไปพูดในเชิงล้อเลียน หรือลดทอนคุณค่า อาจทำให้เกิดความอับอายและส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของพนักงาน

9. ประเมินผลการทำงานอย่างไม่เป็นธรรม

หากมีการประเมินผลโดยใช้เกณฑ์ที่ไม่เป็นธรรม หรือมีอคติ เช่น ให้คะแนนต่ำเพราะไม่ถูกใจ หรือเพราะพนักงานไม่ตามใจเจ้านาย อาจสร้างความเสียหายต่ออาชีพของพนักงาน

10. เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต

การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน เช่น สถานะทางการแพทย์ หรือปัญหาครอบครัว โดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวและอาจสร้างความอับอายแก่พนักงาน

ความผิดตามมาตรา 397: ยอมความได้หรือไม่?

ความผิดตามมาตรา 397 ถือเป็น ความผิดลหุโทษ ที่สามารถยอมความกันได้ในชั้นพนักงานสอบสวน แต่หากผู้เสียหายต้องการดำเนินคดีจนถึงศาล ก็สามารถทำได้เช่นกัน

HR และผู้บริหารควรทำอย่างไร?

เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของพนักงานและสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในองค์กร HR และผู้บริหารควร

  • กำหนด นโยบายต่อต้านการกลั่นแกล้ง ในที่ทำงาน

  • ส่งเสริม การสื่อสารที่เปิดกว้าง และการร้องเรียนโดยไม่ต้องกลัวผลกระทบ
  • อบรมหัวหน้าและพนักงานเรื่อง สิทธิแรงงานและจรรยาบรรณองค์กร
  • ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นธรรมเมื่อลูกจ้างร้องเรียน

เพื่อให้องค์กรสามารถบริหารจัดการพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาความขัดแย้งในที่ทำงาน และสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี Bplus e-HRM เป็นโซลูชันที่ช่วยให้ HR จัดการข้อมูลพนักงานอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรมเงินเดือน ที่ช่วยคำนวณค่าจ้างและค่าตอบแทนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือ โปรแกรมลาออนไลน์ ที่ช่วยให้พนักงานสามารถยื่นลา ตรวจสอบสิทธิ์ และรอการอนุมัติได้สะดวกผ่านระบบอัตโนมัติ ทั้งหมดนี้ช่วยลดภาระงานด้านเอกสารของ HR และเพิ่มความโปร่งใสในองค์กร ทำให้พนักงานรู้สึกมั่นใจ และมีความสุขในการทำงานมากยิ่งขึ้น

การรังแกลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงาน ไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานเท่านั้น แต่ยังเข้าข่ายผิดกฎหมายตามมาตรา 397 อีกด้วย HR และองค์กรต้องให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมที่เคารพซึ่งกันและกัน เพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่างมีความสุข และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ที่มา Jobs DB